วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

การเรียนรู้จากการฝึกปฏิบัติงานในโรงงาน

การเรียนรู้จากการฝึกปฏิบัติงานในโรงงาน

1.ได้เรียนรู้ในเรื่องการ ถอด- ประกอบ ของแม่พิมพ์ และการบำรุงรักษาแม่พิมพ์
    - ถอด-ประกอบแม่พิมพ์นั้นคือการ ถอดแม่พิมพ์มาซ่อมแซมส่วนที่เสียหาย หรือการเปลี่ยนอะไหล่แม่พิมพ์
    - การบำรุงรักษาแม่พิมพ์คือ การทำความสะอาดแม่พิมพ์
2. การอ่านแบบ ชิ้นงาน
    - เราต้องรู้การอ่านแบบชิ้นงานแต่ละ Part ให้เป็น ถ้าอ่านไม่เป็นอาจทำให้เกิดความผิดพลาดได้หรือวัดงานผิดค่าไป
3. Maintenance 
    - การทำการบำรุงรักษาเครื่องจักร เช่น ตรวจเช็ค OPSของเครื่องจักรแต่ละเครื่อง
    - เมื่อเครื่องจักร Baeck Down เราก็ทำงานซ่อมบำรุงทันที


ห้องเรียน ห้องฝึกอบรม ในอนาคต

 ลักษณะห้องเรียน ห้องฝึกอบรม ในอนาคต

   1. จัดการเรียนการสอนในห้องเรียนธรรมดา แต่มีการถ่ายทอดสดภาพและเสียงเกี่ยวกับบทเรียน โดยอาศัยระบบโทรคมนาคมและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไปยังผู้เรียนที่อยู่นอกห้องเรียนนักศึกษาก็สามารถรับฟังและติดตามการสอนของผู้สอนได้จากเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเองอีกทั้งยังสามารถโต้ตอบกับอาจารย์ผู้สอน หรือเพื่อนักศึกษาในชั้นเรียนได้ ห้องเรียนแบบนี้ยังอาศัยสิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่เป็นจริง ซึ่งเรียกว่า Physical Education Environment
             2. การจัดห้องเรียนจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์สร้างภาพเสมือนจริง เรียกว่า Virtual Reality โดยใช้สื่อที่เป็นตังหนังสือ (Text-Based) หรือภาพกราฟิก (Graphical-Based) ส่งบทเรียนไปยังผู้เรียนโดยผ่านระบบโทรคมนาคมและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ห้องเรียนลักษณะนี้เรียกว่า Virtual Education Environment ซึ่งเป็น Virtual Classroom ที่แท้จริง การจัดการเรียนการสอนทางไกลทั้งสองลักษณะนี้ ในบางมหาวิทยาลัยก็ใช้ร่วมกัน คือมีทั้งแบบที่เป็นห้องเรียนจริง และห้องเรียนเสมือนจริง การเรียนการสอนก็ผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงกันอยู่ทั่วโลก เช่น Internet, WWW. ขณะนี้ได้มีผู้พยายามจัดตั้งมหาวิทยาลัยเสมือนจริงขึ้นแล้ว โดยเชื่อมโยง Site ต่างๆ ที่ให้บริการด้านการเรียนการสอนทางไกล แบบ Virtual Classroom ต่างๆ เข้าด้วยกัน และจัดบริเวณอาคารสถานที่ ห้องเรียน ห้องสมุด ภาควิชาต่างๆ ศูนย์บริการต่างๆ ตลอดจนคณาจารย์ นักศึกษา กิจกรรมทุกอย่างเสมือนเป็นชุมชนวิชาการจริงๆ แต่ข้อมูลเหล่านี้จะอยู่ที่ศูนย์คอมพิวเตอร์ของแต่ละแห่ง ผู้ประสงค์จะเข้าร่วมในการเปิดบริการก็จะต้องจองเนื้อที่และเขียนโปรแกรมใส่ข้อมูลเข้าไว้ เมื่อนักศึกษาติดต่อเข้ามา โปรแกรมคอมพิวเตอร์ก็จะแสดงภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว และสามารถโต้ตอบได้เสมือนหนึ่งเป็นมหาวิทยาลัยจริง ๆ การติดต่อกับมหาวิทยาลัยเสมือนจริงทำได้

องค์ประกอบห้องเรียน ห้องฝึกอบรม ในอนาคต

1. การเรียนโดยใช้คอมพิวเตอร์ เป็นการใช้คอมพิวเตอร์สร้างปฏิสัมพันธ์ให้กับผู้เรียนติดตามหรือค้นหาความรู้ในบทเรียน และส่งเสริมให้เรียนรู้และประสบผลสำเร็จด้วยวิธีการของตนเอง โดยยึดหลักที่สำคัญคือบทเรียนจะต้องมีความง่ายและความสะดวกที่จะใช้ ความสวยงาม ดูดีและเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้รับความรู้ที่ถูกต้อง แม่นยำ รวดเร็วและครบถ้วนการเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้น ใช้เทคนิควิธีการที่แตกต่างไปจากการเรียนแบบอื่น เนื่องจากการที่จะนำไปใช้ช่วยครูสอน(Adjust) หรือการใช้สอนแทนครู (Primary)
หรือใช้ฝึกอบรมเป็นรายบุคคล เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ได้ในระดับใดนั้น ขึ้นอยู่กับธรรมชาติโครงสร้างของเนื้อหา เทคนิควิธีการนำเสนอบทเรียนและกลยุทธ์ถ่ายโยงความรู้ ตลอดจนแบบแผนการวัดและประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ เพื่อรับประกันได้ว่า สามารถใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้นช่วยสอนและใช้สอนแทนครูได้
             2. การออกแบบบทเรียนก่อนการเรียนการสอน ปัจจุบันนี้อัตราส่วนความรับผิดชอบของผู้สอนต่อผู้เรียนมีมากขึ้น ดังนั้นการสอนจึงต้องเน้นการประยุกต์เอาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษามาใช้ให้มากขึ้นโดยผู้สอนจะออกแบบการสอนและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีพัฒนาสื่อตามวัตถุประสงค์ของเนื้อหาวิชาการออกแบบบทเรียนจำเป็นต้องเริ่มต้นจากการวิเคราะห์และออกแบบการสอน ทั้งในด้านปริมาณเนื้อหา วิธีประมวลความรู้ แผนการผลิตสื่อ และการตรวจสอบประสิทธิภาพเพื่อให้ได้สื่อที่นำไปใช้กระตุ้นกระบวนการใส่ใจและกระบวนการรู้จักสภาพแวดล้อมรอบตัวผู้เรียน
             3. ผู้เรียนโต้ตอบกับบทเรียนผ่านคอมพิวเตอร์ ได้แก่การให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์กับคอมพิวเตอร์หรือการโต้ตอบระหว่างผู้เรียนกับโปรแกรมบทเรียนอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งบทเรียนดังนั้นผู้ออกแบบโปรแกรมบทเรียนจึงต้องเข้าใจวิธีสร้างปฏิสัมพันธ์ และควรจะเตรียมความพร้อมให้ผู้เรียนสามารถใช้คอมพิวเตอร์ได้ นอกจากนี้ยังจำเป็นต้องเข้าใจวิธีเสริมสร้างความรู้สึกในทางบวกแก่ผู้เรียนต่อการโต้ตอบกับเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น สร้างส่วนการทักทายกับผู้เรียน ใช้หลักการออกแบบจอภาพและโครงสร้างบทเรียน เพื่อสร้างการนำเสนอที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีสิทธิ์ที่จะคิดและตัดสินใจโดยไม่รู้สึกว่าตนถูกริดรอนอำนาจการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ
               4. หลักความแตกต่างระหว่างบุคคล ได้แก่ ความแตกต่างในด้านความนึกคิด อารมณ์และความรู้สึกภายในของบุคคลที่แตกต่างกันออกไป บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ดี จะต้องมีลักษณะยืดหยุ่นมากพอที่ผู้เรียนจะมีอิสระในการควบคุมบทเรียนของตนเอง รวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถเลือกรูปแบบการเรียนที่เหมาะสมกับตนเองได้ ตัวอย่างเช่น การควบคุมเนื้อหา การควบคุมลำดับและอัตราการเรียน การควบคุมการฝึกปฏิบัติ เป็นต้น


ความหมายของการฝึกอบรม

ความหมายของการฝึกอบรม



Good (1973 : 33 ; อ้างถึงใน ฉัตรพงศ์ พีระวราสิทธิ์, 2549 : 11) สรุปความหมายของการฝึกอบรมไว้ว่า การฝึกอบรมว่า หมายถึง กระบวนการให้ความรู้ และฝึกทักษะแก่บุคคลภายใต้เงื่อนไขบางประการ แต่ยังไม่เป็นระบบเหมือนกับการศึกษาในสถาบันทั่วไป

              เพ็ญจันทร์ สังข์แก้ว (2544) กล่าวว่ากระบวนการฝึกอบรม หมายถึงลำดับการกระทำซึ่งดำเนินการต่อเนื่องกันไปจนสำเร็จ ณ ระดับหนึ่ง และได้แบ่งกระบวนการฝึกอบรมเป็นขั้นตอนที่สำคัญ 4 ขั้นตอน ดังนี้      1) การพิจารณาความจำเป็นของการฝึกอบรม 
             2) การวางแผนฝึกอบรม 
             3) การดำเนินการฝึกอบรม 
             4) การประเมินผลการฝึกอบรม 

           กิตติ พัชรวิชญ์ (2544 : 447-448) ได้กล่าวถึงความสำคัญการฝึกอบรมไว้ดังนี้
              1. สร้างความประทับใจให้พนักงานที่เริ่มทำงาน
              2. เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้สูงขึ้น
              3. เตรียมขยายงานขององค์การ
              4. พัฒนาพนักงานขององค์การให้ทันกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยี
              5. สร้างขวัญและกำลังใจให้พนักงานขององค์การให้เกิดความมั่นคงการทำงาน
              6. เพิ่มพูนวิทยาการที่เป็นประโยชน์กับการพัฒนาคุณภาพชีวิตพนักงานองค์การ
              7. ลดงบประมาณค่าวัสดุสูญเปล่า
              8. สร้างความสามัคคีในหมู่พนักงาน
              9. เป็นวิธีการแห่งประชาธิปไตย
            10. เป็นการส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตของบุคคล

        มนูญ ไชยทองศรี (2544 : 16) กล่าวไว้ว่า หน่วยงานต่างๆ จำเป็นต้องการฝึกอบรมให้แก่ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงาน เนื่องจาก
               1. สถานศึกษาไม่สามารถผลิตบุคคลที่สามารถปฏิบัติงาน ได้ทันทีที่จบการศึกษาจำเป็นต้องทำการฝึกอบรมให้ผู้ปฏิบัติงานมีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและทัศนคติที่ดีและเพียงพอก่อนที่จะเริ่มลงมือปฏิบัติงานนั้นๆ
              2. ปัจจุบันเทคโนโลยีมีความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว สภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกหน่วยงานมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ผู้ปฏิบัติงานจึงควรได้รับการพัฒนาให้สามารถทำงานได้สอดคล้องกับสถานการณ์ต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งการฝึกอบรมเป็นวิธีการที่ดีที่สุด
              3. ความต้องการของผู้ปฏิบัติงานในการที่จะมีความเจริญก้าวหน้าในอาชีพนั้นๆ จึงพัฒนาความรู้ ความสามารถของตนเอง เพื่อให้มีโอกาสเลื่อนตำแหน่งหน้าที่การงานซึ่งจะส่งผลให้เกิดความเจริญก้าวหน้าต่อหน่วยงาน และสร้างขวัญกำลังใจต่อผู้ปฏิบัติงานอีกด้วย
        
          ริโสภาคย์ บูรพาเดชะ
          การอบรม คือกระบวนการอย่างเป็นทางการที่กิจการทาให้บุคลากรเกิดการเรียนรู้ เพื่อจะได้แสดงพฤติกรรมที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของกิจการ

วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ความหมายและความแตกต่างของ E- Learning CAI และ WBI

         e-Learning 
              คำว่า e-Learning คือ การเรียน การสอนในลักษณะ หรือรูปแบบใดก็ได้ ซึ่งการถ่ายทอดเนื้อหานั้น กระทำผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ซีดีรอม เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซทราเน็ต หรือ ทางสัญญาณโทรทัศน์ หรือ สัญญาณดาวเทียม (Satellite) ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งการเรียนลักษณะนี้ได้มีการนำเข้าสู่ตลาดเมืองไทยในระยะหนึ่งแล้ว เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยซีดีรอม, การเรียนการสอนบนเว็บ (Web-Based Learning), การเรียนออนไลน์ (On-line Learning) การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม หรือ การเรียนด้วยวีดีโอผ่านออนไลน์ เป็นต้น ในปัจจุบัน คนส่วนใหญ่มักจะใช้คำว่า
e-Learning กับการเรียน การสอน หรือการอบรม ที่ใช้เทคโนโลยีของเว็บ (Web Based Technology) ในการถ่ายทอดเนื้อหา รวมถึงเทคโนโลยีระบบการจัดการหลักสูตร (Course Management System) ในการบริหารจัดการงานสอนด้านต่างๆ โดยผู้เรียนที่เรียนด้วยระบบ e-Learning นี้สามารถศึกษาเนื้อหาในลักษณะออนไลน์ หรือ จากแผ่นซีดี-รอม ก็ได้ และที่สำคัญอีกส่วนคือ เนื้อหาต่างๆ ของ e-Learning สามารถนำเสนอโดยอาศัยเทคโนโลยีมัลติมีเดีย (Multimedia Technology) และเทคโนโลยีเชิงโต้ตอบ (Interactive Technology) คำว่า e-Learning นั้นมีคำที่ใช้ได้ใกล้เคียงกันอยู่หลายคำเช่น Distance Learning (การเรียนทางไกล) Computer based training (การฝึกอบรมโดยอาศัยคอมพิวเตอร์ หรือเรียกย่อๆว่า CBT) online learning (การเรียนทางอินเตอร์เนต) เป็นต้น ดังนั้น สรุปได้ว่า ความหมายของ e-Learning คือ รูปแบบของการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยอาศัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือสื่ออิเลคทรอนิกส์ในการถ่ายทอดเรื่องราว และเนื้อหา โดยสามารถมีสื่อในการนำเสนอบทเรียนได้ตั้งแต่ 1 สื่อขึ้นไป และการเรียนการสอนนั้นสามารถที่จะอยู่ในรูปของการสอนทางเดียว หรือการสอนแบบปฎิสัมพันธ์ได้

         Web Base Instruction (WBI)
               WBI แบบไหนถึงเรียกว่า WBIก่อนอื่นจะต้องทำความเข้าใจก่อนว่า WBI คืออะไรWBI ย่อมาจาก Web based instructionWBI ไม่ใช่ CAI WBI เป็นเครื่องมือสำหรับ การจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ E-Learningซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ E Education และเป็นส่วนย่อยของระบบใหญ่ E Commerceแสดงระบบ E-Commerce => E education => E-LearningWBI เป็น การจัดการศึกษาในรูปแบบ Web Knowladge Based On Line เป็นการจัดสภาวกาณ์การเรียนการสอน ในรูปแบบ On Lineโดยมีข้อกำหนด อย่างไรจึงจะเรียกว่า WBI การจะเป็น WBI จะต้องมีสิ่งต่อไปนี้อย่างสมบรูณ์ ได้แก่ความเป็นระบบความเป็นเงื่อนไขการสื่อสารหรือกิจกรรมLearning Root ความเป็นระบบ System(แสดงรูประบบ)ความเป็นระบบสามารถแบ่งเป็นInput ได้แก่1. ผู้เรียน2. ผู้สอน3. วัตถุประสงค์การเรียน4. สื่อการสอน5. ฐานความรู้6. การสื่อสาร & กิจกรรม7. การประเมินผล8. อื่นๆ ฯลฯ (แล้วแต่สถาบันจะกำหนดปัจจัยที่นอกเหนือจากนี้)Process ได้แก่การสร้างสถานการณ์หรือการจัดสภาวะการเรียนการสอน โดยใช้วัตถุดิบจาก Input อย่างมี กลยุทธ หรือ ตามที่กำหนดไว้ในแผนการสอนOutput ได้แก่ผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ ซึ่งได้จากการประเมินผลความเป็นเงื่อนไขอะไรคือ เงื่อนไข เงื่อนไขนับว่าเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งสำหรับ WBI อาทิกำหนดเงื่อนไขว่า เมื่อเสร็จสิ้นจากการเรียนแล้วจะต้องทำแบบประเมินการเรียน หากทำแบบประเมินผ่านตามคะแนนที่กำหนดไว้ ก็สามารถไปศึกษาบทเรียนอื่นๆหรือบทเรียนที่ยากขึ้นเป็นลำดับได้ แต่ถ้าไม่ผ่านตามเงื่อนไขที่กำหนด ก็จะต้องเรียนซ้ำจนกว่าจะผ่านการสื่อสารหรือกิจกรรมอะไรคือ การสื่อสาร & กิจกรรม กิจกรรมจะเป็นตัวกระตุ้นให้นักเรียนเกิดการปฏิสัมพันธ์ หรือการสื่อสารขึ้นภายในสถานะการณ์การเรียน โดยไม่ต่างจากห้องเรียนปกติอาจเรียกว่า Virturl Classroom กิจกรรมจะเป็นตัวช่วยให้การเรียนเข้าสู่เป้าหมาย ได้ง่ายขึ้น เช่น ใช้ Mail Chat Webboard Search ฯลฯ ติดต่ออาจารย์หรือเพื่อนร่วมชั้นเรียนเพื่อถามข้อสงสัยLearning RootLearning Root มิใช่ Learning Link กล่าวคือ Learning Root เป็นการกำหนดแหล่งความรู้ภายนอก ที่เกี่ยวข้องกับบทเรียน โดยมีเงื่อนไข เช่น แหล่งความรู้ภายนอก ที่มีความยากเป็นลำดับ หรือ เกี่ยวข้องกับหัวข้อการเรียนเป็นลำดับ การกำหนด Leaning Root โดยใช้ เทคนิค Frame จะช่วยให้ผู้เรียนไม่เกิดภาวะหลงทางCopy Right 2000 Passkorn Roungrong email: webmaster@thaiwbi.com

         Computer Assisted Instruction (CAI)

               Computer Assisted Instruction หรือที่เรียกกันย่อๆ ว่า CAI มักจะเป็นส่วนที่พวกเราเข้าใจผิดมากกว่าเป็นส่วนของระบบการเรียนรู้หรือการศึกษา ด้วย คอมพิวเตอร์ทั้งหมด จริงๆแล้ว CAI จะเป็นส่วนหนึ่งของระบบเกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อติดต่อโดยตรงกับ นักเรียนในการแสดงเนื้อหาบทเรียนตามลำดับขั้น ตอนอย่างเป็นระบบด้วยชุดคำสั่งจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์เครื่องคอมพิวเตอร์มีขีดความสามารถสูงและมีความยืดหยุ่นคล่องตัวในการสั่งคำสั่งการกระโดดข้ามควบคุมการลื่นไหลของบทเรียนได้เป็นอย่างดีอย่าง ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย นอกจากนี้คอมพิวเตอร์ยังไม่สามารถควบคุมการทำงานของสื่อประเภทอื่น เช่น เสียงหรือ ภาพวิดีโอเข้ามาประกอบได้อย่างกลมกลืน CAI จะเป็นตัวกลางของคำสั่งเป็นขบวนการของคำสั่งของการใช้งานคอมพิวเตอร์ ซึ่งอาจแบ่งออกได้หลายรูปแบบ เช่น แบบบทเรียนสอน(Tutorial) จะเป็นแบบที่เราพบ เห็นกันมากที่สุด โดยจะเป็นการนำเสนอบทเรียนด้วย ข้อมูลต่างๆ ตามด้วยบททดสอบความเข้าใจ หากไม่เข้าใจหรือตอบคำถามไม่ได้ ก็จะกระโดด ไปนำเสนอข้อมูล ของบทเรียนใหม่หรือนำเสนอข้อมูล เติมด้วยวิธีการใหม่ แล้วย้อนคำถามเติมซ้ำใหม่ แต่ถ้าตอบคำถามได้ดี ก็จะกระโดดไปนำเสนอบทเรียนชุดย่อยอื่นๆและตอบ คำถามในชุดย่อยนั้นๆ ตามลำดับในลักษณะเดิมไปจนจบชุดเรียนรูปแบบของ CAI ที่พบเห็นกันทั่วไปอีกแบบหนึ่งคือ การฝึกฝนทดสอบจากแบบฝึกหัด (Drill and Practice) ซึ่งจะเป็นลักษณะของโจทย์แบบฝึกหัดเรียงข้อตาม ลำดับเพื่อให้ตอบ หลังจากตอบทุกคำถามแล้วก็จะสรุปผลจำนวนที่ตอบถูกหรือผิดออกมาให้ ส่วนรูปแบบ ของ CAI อื่นๆ อีก ได้แก่ การสร้างเป็นเกมส์ (Instruction Games) เช่น การบวกตัวเลขของเด็กนักเรียน การสร้างเป็นรูปแบบ (Modeling) เช่น การสร้างรูปแบบประชากร เพื่อใช้ศึกษาตัวแปรที่มีผลต่อระบบและการจำลอง ขบวนการหรืออุปกรณ์(Simulation) เพื่อให้ผู้ศึกษาเข้าใจและเรียนรู้ขั้นตอนการทำงานของระบบที่สนใจหรือ การทำงานของอุปกรณ์ต่างๆเป็นต้นComputer Manage instruction (CMI) คือ เป็นส่วนที่ช่วยจัดการติดตามการเรียนรู้ด้วยคอมพิวเตอร์ โดยสามารถใช้ติดตามผลเป็นรายบุคคล และใน ระดับชั้น CMI นับเป็นหัวใจสำคัญของระบบการเรียนรู้ด้วยคอมพิวเตอร์อีกส่วนหนึ่ง แต่ไม่ค่อย ได้รับความสนใจเท่าที่ควรเมื่อเปรียบเทียบกับ CAI รูปแบบ ของ CMI ได้แก่ การตรวจสอบ (Testing)เพื่อใช้วัดระดับความรู้ของผู้เรียนเทียบกับวัตถุประสงค์ การสร้างข้อวินิจฉัย (Prescription Generation) ซึ่งระบบ CMI จะสร้างข้อ วินิจฉัยสำหรับผู้เรียนเป็นรายบุคคล ทั้งนี้ เพราะผู้เรียนแต่ละคนอาจมีพื้นฐานและประสบการณ์ ที่แตกต่างกัน ดังนั้นข้อวินิจฉัยจะบอกจุดแข็งและจุดอ่อน จากการเรียนภายในบทเรียนที่ทดสอบนั้น และการเก็บความก้าวหน้าของผู้เรียน ( Record Keeping) เพื่อใช้ติดตามผลการเรียนรู้ในรายบุคคลและในระดับชั้นCSLR หรือ Computer Suppported Learning Resource เป็นเรื่องที่สถาบันการศึกษายุคใหม่ให้ความสนใจมาก เพราะทรัพยากรที่ใช้ในเรื่องการเรียน การสอนมีจำกัด จำเป็นที่จะต้องใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดคุ้มค่ากับการลงทุน และการลงทุนจะต้องประหยัดสามารถสร้างคุณค่าได้มากทั้งทางตรงและทางอ้อม ตลอดจนสร้างคุณค่าเพิ่มในภายหลังได้มาก

ความแตกต่างของ CAI, WBI และ E-LEARNING

E-learning เป็นเสมือนวิวัฒนาการของ WBI
             CAI ทำงานภายใต้ Standalone หรือ อาจทำงานภายใต้ Local Area Network เพราะ CAI มิได้ออกแบบเพื่อการสื่อสารถึงกัน
WBI ทำงานบนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตสามารถทำการสื่อสารภายใต้ระบบ Multi-user ได้อย่างไร้พรมแดน โดยผู้เรียนสามารถรับส่งข้อมูลการศึกษาทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Education Data) อย่างไม่จำกัดเวลา ไม่จำกัดสถานที่ และผู้เรียนและผู้สอนสามารถติดต่อสื่อสารถึงกันได้ และผู้สอนสามารถติดตามพฤติกรรมการเรียนตลอดจนผลการเรียนของผู้เรียนได้ และ สิ่งที่ทำให้ CAI ต่างจาก WBI คือ เรื่องการสื่อสาร
      WBI สามารถทำการสื่อสารภายใต้ระบบ Multiuser ได้อย่างไร้พรมแดน โดยผู้เรียนสามารถติดต่อสื่อสารกับผู้เรียนด้วยกัน อาจารย์ หรือผู้เชี่ยวชาญ ฐานข้อมูลความรู้ และยังสามารถรับส่งข้อมูลการศึกษาอิเล็คทรอนิค(Eletronic Education Data ) อย่างไม่จำกัดเวลา ไม่จำกัดสถานที่ ไม่มีพรมแดนกีดขวางภายใต้ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต หรืออาจเรียกว่าเป็น Virtual classroom เลยก็ได้ และนั้นก็คือการกระทำกิจกรรมใดๆ ภายในโรงเรียน ภายในห้องเรียน สามารถทำได้ทุกอย่างใน WBI ที่อยู่บนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต จนกระทั่งคุณจบการศึกษาเลย
 ส่วน WBI เป็นการเรียนทางไกลผ่านทางเว็บ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต หรือ เอ็กซ์ทราเน็ตก็ตาม
ส่วน E-learning หมายถึงการเรียนรู้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์อินเทอร์เน็ต หรือ อินทราเน็ต เป็นการเรียนรู้ด้วยตนเอง


ขอบคุณแหล่งที่มา